เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจาก ประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่าประวัติ
ประวัติ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี "ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล
สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง
ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ ๑ เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก ๑ ลูก รวมเป็น ๒ ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่๒ ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่๓ พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่
รัชกาลที่๔ เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ ๖ นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม แล้วจึงเป็นดนตรีไทยที่เราได้เห็นจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งความแตกต่างระหว่างวงต่างๆ ผู้ประพันธ์ท่านต่างๆ
ลักษณะ
ลักษณะการประสานเสียงของดนตรีไทยตามแบบโบราณนั้น ใช้หลัก อาศัยสีเสียง (Tone color) ของเครื่องดนตรีเป็นเครื่องแยกแต่ละแนวทำนอง คือให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นประสานเสียงกันแบบแนวนอน คือให้เสียงลูกตกตรงกัน มากกว่าประสานแบบแนวตั้งที่อาศัยคอร์ด (chord) เป็นพื้นฐานหลักตามแบบสากล
ลีลา
ลีลาเครื่องดนตรีไทย หมายถึงท่วงท่าหรือท่วงทำนองที่เครื่องดนตรีต่างๆได้บรรเลงออกมา สำหรับลีลาของเครื่องดนตรีไทยแต่ละเครื่องที่เล่นเป็นเพลงออกมา บ่งบอกถึงคุณลักษณะและพื้นฐานอารมณ์ที่จากตัวผู้เล่น เนื่องมาจากลีลาหนทางของดนตรีไทยนั้นไม่ได้กำหนดกฏเกณฑ์ไว้ตายตัวเหมือนกับดนตรีตะวันตก หากแต่มาจากลีลาซึ่งผู้บรรเลงคิดแต่งออกมาในขณะเล่น เพราะฉะนั้นในการบรรเลงแต่ละครั้งจึงอาจมีทำนองไม่ซ้ำกัน แต่ยังมี ความไพเราะและความสอดคล้องกับเครื่องดนตรีอื่นๆอยู่
ลักษณะเช่นนี้ได้อิทธิพลมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มี"กฎเกณฑ์" อยู่ที่การวาง "กลอน" ลงไปใน "ทำนองหลัก" ในที่นี้ หมายถึงในเพลงไทยเดิมนั้นเริ่มต้นด้วย "เนื้อเพลงแท้ๆ" อันหมายถึง "เสียงลูกตก" ก่อนที่จะปรับปรุงขึ้นเป็น "ทำนองหลัก" หรือที่เรียกว่า "เนื้อฆ้อง" อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งในชั้นเนื้อฆ้องนี้ส่วนใหญ่จะยังคงเป็นทำนองห่างๆ ยังไม่มีความซับซ้อนมาก แต่ยังกำหนดลักษณะในการเล่นไว้ให้ผู้บรรเลงแต่ละคนได้บรรเลงด้วยลีลาเฉพาะของตนในกรอบนั้นๆ โดยลีลาที่กล่าวมาก็หมาย
ถึง "กลอน" หรือ "หนทาง" ต่างๆที่บรรเลงไปนั่นเอง
วงดนตรีไทย
ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ
ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี,วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,วงปี่พาทย์เครื่องห้า,วงปี่พาทย์เครื่องคู่,วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,วงปี่พาทย์ไม้นวม,วงปี่พาทย์มอญ,วงปี่พาทย์นางหงส์
เครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา
ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่
สมัยธนบุรีมีวงดนตรี 3 ประเภท เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา คือ วงปี่พาทย์ วงมโหรี และวงเครื่องสาย แต่มีเครื่องดนตรีของชาติต่างๆ เข้ามาในประเทศไทยหลายชนิด ดังปรากฏในหมายกำหนดการของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นว่า “ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิณพาทย์ไทย พิณพาทย์รามัญ มโหรีไทย ฝรั่ง มโหรีญวน เขมร ผลัดเปลี่ยนกันสมโภช 2 เดือนกับ 12 วัน” ในงานสมโภชพระแก้วมรกตเป็นต้น
สมัยสุโขทัย ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่นกันอย่างพื้นเมือง เครื่องดนตรีไทย สมัยนี้ ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงไว้ในหนังสือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นหนังสือวรรณคดีที่แต่งในสมัยนี้ ได้แก่ แตร, สังข์, มโหระทึก, ฆ้อง, กลอง, ฉิ่ง, แฉ่ง (ฉาบ), บัณเฑาะว์ พิณ, ซอพุงตอ (สันนิษฐานว่าคือ ซอสามสาย) ปี่ไฉน, ระฆัง, และ กังสดาล เป็นต้น ลักษณะการผสมวงดนตรี ก็ปรากฎหลักฐานทั้งในศิลาจารึก และหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึง “เสียงพาทย์ เสียงพิณ” ซึ่งจากหลักฐานที่กล่าวนี้ สันนิษฐานว่า วงดนตรีไทยในสมัยสุโขทัย มีดังนี้ คือ
1. วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง 1 คน ทำหน้าที่ดีดพิณและขับร้องไปด้วย เป็นลักษณะของการขับลำนำ
2. วงขับไม้ ประกอบด้วยผู้บรรเลง 3 คน คือ คนขับลำนำ คนสีซอสามสายคลอเสียงร้อง และคนไกว บัณเฑาะว์
ยุคสมัยคนตรีไทย
ดนตรีเป็นศิลปะที่มวลมนุษย์ยกย่องว่าเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งมวลเรียกว่าเป็นศิลปะทิพย์( The Divine art ) ซึ่งใช้กระแสเสียงที่เกิดจากการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีหรือด้วยการขับร้องเป็นสื่อ ทำให้ผู้ที่ได้รับฟังเกิดอารมณ์สอดคล้องต้องกันไปกับเสียงเพลงนั้นๆได้ความหมายของดนตรีและเสียง ดนตรีเป็นพลังงานในรูปของคลื่นเสียงที่ไม่สามารถจับต้องและมองเห็นได้ ต้องอาศัยโสตประสาทเป็นตัวรับรู้และเมื่อดนตรีเป็นพลังงาน จิตมนุษย์จึงสามารถรับรู้และรู้สึกได้โดยไม่ต้องแปลเสียงที่ได้ยินนั้น เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุผ่านตัวกลาง คืออากาศ เป็นคลื่นเสียงของดนตรีในสองลักษณะคือ ความดัง และความสูงต่ำของเสียงนั่นเองคลื่นเสียงของดนตรีที่โสตประสาทมนุษย์รับรู้ได้นั้น ก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกกับผู้ฟังใน 2 ประการคือ ถ้าหากเป็นเสียงที่มีลักษณะประสานกันอย่างกลมกลืนราบเรียบ และเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอมีความนุ่มนวลจะทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายและสบายแต่ถ้าเป็นเสียงที่มีความกระแทกกระทั้นมีเสียงที่เป็นเชิงซ้อนและเสียงดังบ้าง เสียงเบาบ้างจะทำให้ผู้รับฟังรู้สึกถูกกดดันและอึดอัด ก็จะกลายเป็นความเครียดตามมาอีกด้วยความเป็นศิลปะทิพย์ของดนตรีดังกล่าวแล้ว ย่อมทำให้รู้สึกว่า ดนตรีนั้นมีสิ่งที่ดีๆให้เราได้ศึกษาเรียนรู้เป็นอย่างมากทีเดียว อาจกล่าวได้ว่าเสียงของดนตรีทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่านั้น ย่อมมีเสียงสูง – ต่ำ ต่างๆกัน ถึงแม้ว่าเครื่องดนตรีสามารถมีเสียงต่างๆมากมายอย่างไรก็ตามตามหลักดุริยางคศาสตร์ถือว่าเสียงดนตรีมีเสียงเรียงเป็นลำดับต่างกันอยู่ 7 เสียงเท่านั้น เสียงที่เกิน 7 ออกไปถือเป็นเสียงซึ่งซ้ำกับเสียงภายใน 7 เสียงนั่นเอง แต่มีระดับเสียงสูงหรือเสียงต่ำกว่ากันเป็นช่วงคู่ 8 – 15 – 22 ฯลฯ เป็นลำดับกันไปเท่านั้น ซึ่งหากพินิจพิจารณาฟังให้ดีแล้วจะพบว่าเป็นเสียงที่ซ้ำกันนั่นเองสำหรับเสียงของดนตรีไทย ( ไม่นับเครื่องประกอบจังหวะเช่น ฉิ่ง และ โทน – รำมะนา กลองชนิดต่างๆ ) ก็มีเสียงไล่กันไปตั้งแต่เสียงต่ำไปหาเสียงสูงเป็นการเรียงเสียงที่มีความถี่ห่างเท่าๆกันทุกๆขั้น เสียงที่ 8 ก็จะมีเสียงเท่ากับเสียงที่ 1
มนุษย์เรานั้นมีโสตประสาทรับความรู้สึกอยู่ 5 อย่าง สำหรับประสาทที่รับฟังเรียกว่า “ โสตประสาท ” หรือ หู ซึ่งจะสังเกตได้ว่า โสตประสาทของแต่ละคนจะรับฟังสิ่งต่างๆได้ไม่เท่ากัน บางคนมีโสตประสาทไวสามารถที่จะรับฟังและบอกระดับเสียงที่ได้ยินมาได้อย่างถูกต้องไม่ผิดเพี้ยนแต่อย่างใดเลย บุคคลเช่นนี้ต้องถือว่ามี Sense of absolute pitch อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางคนที่ฟังดนตรีไม่เป็นเอาเสียเลย คือ ไม่สามารถบอกได้ว่า เสียงอย่างไรคือเสียงสูง เสียงอย่างไรคือเสียงต่ำบุคคลที่กล่าวถึงนี้ เป็นบุคคลประเภทที่เรียกว่า Musical idiot หรือ “ โง่ทึบในการดนตรี ” หรือการหนวกเสียงดนตรี ( Tone deaf ) ก็ยังมีอยู่มากมายในสังคมเรานี้
ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
http://www.openbase.in.th/node/3491 เพื่อใช้เป็นแหล่งการสึกษาต่อไป